โดย นาย เค เค ชง (K.K.Chong) Head of Strategic Communication บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)

Head of Strategic Communication บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)
“ความท้าทายในการดำเนินธุรกิจในยุคนี้ “ธุรกิจพลังงานสะอาด” กลายเป็นโอกาสและทิศทางที่ดีในการเติบโต ซึ่งทางเดลต้าฯ เรามองธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า และ Data Center เป็นโอกาสหนุนการเติบโตเพิ่มในอนาคต” นาย เค เค ชง เผยถึงทิศทางและก้าวเดินของ เดลต้า ต่อจากนี้ โดยเล่าต่อไปได้อย่างน่าสนใจว่า


เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ในวันนี้
เราคือ ผู้นำในอุตสาหกรรมการออกแบบ การผลิตและให้บริการธุรกิจโซลูชั่นส์สำหรับการจัดการพลังงานและการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเรามุ่งพัฒนาผ่านสินค้าและบริการและที่หลากหลาย อาทิ ระบบจัดการพลังงานสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ ยานยนต์ ระบบงานโทรคมนาคม ระบบงานอุตสาหกรรม สำนักงานอัตโนมัติ อุตสาหกรรมการแพทย์ มากไปกว่านั้น เรายังปักหมุดเป้าหมาย ขยายโอกาสไปยัง ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) อาทิ สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า ในรุ่น Delta Energy Storage System (ESS) พร้อมระบบควบคุมการจ่ายพลังงานแบบปรับตั้งได้ (PCS) ซึ่งทำให้เกิดประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงสุด เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับยานยนต์ประเภทนี้


ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) คือ โอกาส
นาย เค เค ชง เล่าว่า บริษัทฯ คาดว่ายานยนต์ไฟฟ้าจะขยายตัวสูง โดยจะมี EV รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดจำนวนมาก เราเห็นโอกาสดังกล่าวจึงเริ่มพัฒนาเครื่องชาร์จ Delta EV โดยสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ อาทิ ทางภาครัฐอย่าง กฟน.ในการให้บริการเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากว่า 50 แห่งทั่วไทย ไม่ว่าจะเป็น สาขาของการไฟฟ้านครหลวง, ศูนย์รถยนต์ในเครือพันธมิตร, มหาวิทยาลัย, สถานีขนส่ง, นิคมอุตสาหกรรม และอื่นๆ สามารถใช้งานได้ทั้งรถยนต์ไฟฟ้าจากสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวทำให้ประชาชนที่กำลังตัดสินใจซื้อรถประเภทดังกล่าวคลายกังวลเพราะสามารถหาสถานีชาร์จผ่านแอปพลิเคชัน MEA EV
“พร้อมกันนี้วันนี้เรามีเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในหลากหลายโมเดล อาทิ Delta AC Mini Plus EV Charger เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระแสสลับ กำลังสูงสุด 7.36 kW หรือจะเป็น Delta DC Wallbox EV Charger เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระแสตรง กำลังสูงสุด 25 kW และในอนาคตอันใกล้ มีแผนพัฒนาเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากำลัง 300 kW ที่ชาร์จไฟได้เร็วสูงสุดเพียง 8 นาที” นายแจ็คกี้ ขยายความ
ซึ่งเมื่อเร็วๆ มานี้ เดลต้าฯ เปิดตัวโชว์รูมตู้คอนเทนเนอร์ Net Zero โดยมาพร้อมกับโซลูชันการจัดการอาคารอัจฉริยะของเดลต้าที่ใช้ประโยชน์จาก อุปกรณ์ควบคุมห้องและแผงควบคุมเพื่อจัดการระบบไฟ HVAC และอุณหภูมิผ่านโปรโตคอล BACnet และตรวจสอบคุณภาพอากาศด้วยเซนเซอร์ผ่านโปรโตคอล MODBUS พร้อมกันนี้ภายในงานยังได้จัดแสดง โซลาร์รูฟท็อปขนาด 9.6kWp 11 แผงและPV อินเวอร์เตอร์ ติดผนังขนาด 40kW หนึ่งเครื่องสามารถผลิตพลังงานได้สูง 38kWh ต่อวัน จัดเก็บในระบบแบตเตอรี่ 57.6kWh สำหรับการใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง ระบบจัดการแบตเตอรี่ (BMS) จะช่วยให้สามารถใช้พลังงานได้อย่างเหมาะสม ถือเป็นอีกหนึ่งการตอกย้ำถึงการรุกตลาดพลังงานทดแทนได้อย่างชัดเจนสำหรับ เดลต้าฯ


ก้าวเดินต่อจากนี้ เดลต้า อีเลคโทรนิคส์
อย่างไรก็ดีนอกจากธุรกิจยานยนต์พลังงานสะอาดแล้วทางเดลต้าฯ ยังมองว่า Data Center เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่คาดว่าจะโตตามความต้องการใช้งานข้อมูล (Data) ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มากไปกว่านั้น สิ่งที่ปรับตัวคือ การ Transform องค์กรในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะการผลักดันให้เกิด Metaverse ทั้งนี้ในเรื่องของสุขภาพและการแพทย์จากสถานการณ์ COVID-19 ยังเป็นเรื่องที่เราต้องติดตาม ทั้งหมดนี้บริษัทฯ พร้อมลงทุนต่อเนื่องในปี 2565 โดยเฉพาะการลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานจากระบบอัตโนมัติไปสู่ระบบ Smart Factory
“เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ในฐานะผู้ให้บริการสินค้าและบริการโซลูชั่นส์สำหรับการจัดการพลังงาน เราได้ตั้งเป้าในการเป็นผู้จัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายหลักคือการใช้พลังงานทดแทนเป็นพลังงานหลักในการผลิตสินค้าให้ได้ 100%ในปี ค.ศ. 2030 (RE100) โดยเริ่มที่ 35% ในปี ค.ศ. 2025 ซึ่งเราก็ต้องเร่งรัดพัฒนาตัวเองให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยในหลายธุรกิจก็มีเป้าหมายใหม่ คือ การเป็น EV100 หรือ RE100 เช่นกัน” นาย เค เค ชง เผยทิ้งท้าย