เชลล์รับมอบใบรับรองคาร์บอนเครดิตจาก TGOช่วยลดโลกร้อนด้วยโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

Green Share!

(จากซ้ายไปขวา)
1 ดร.พฤฒิภา โรจน์กิตติคุณ ผู้อำนวยการสำนักรับรองคาร์บอนเครดิต องค์การบริการจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO)
2 ดร.ณัฐริกา วายุภาพ นิติพน รองผู้อำนวยการ องค์การบริการจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO)
3 นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริการจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO) 
4 นายปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด 
5 นายกมล คงสกุลวัฒนสุข กรรมการบริหาร ธุรกิจร่วมทุนพัฒนาทรัพย์สิน บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด 
6 นางสาวปรารถนา ทวิสุวรรณ ผู้จัดการแผนกบริหารและจัดการอาคาร บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด

บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด โดย นายปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการ รับมอบใบรับรองคาร์บอนเครดิต สำหรับโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) จากการริเริ่มโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 575.38 กิโลวัตต์ โดยมี นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO) ให้เกียรติเป็นผู้มอบใบรับรองคาร์บอนเครดิต ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิม
พระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ เมื่อไม่นานมานี้

เชลล์เริ่มดำเนินการจัดทำข้อมูลปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 575.38 กิโลวัตต์จากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาอาคารสำนักงานและลานจอดรถ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร ตามมาตรฐานในประเทศไทยของ TGO และขึ้นทะเบียนตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร โดยมีปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานขององค์กรในช่วงระยะเวลาระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2562 – 31 มีนาคม 2565 รวมทั้งสิ้น 1,253 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) 

การได้รับใบรับรองคาร์บอนเครดิตจาก TGO ในครั้งนี้ แสดงถึงความมุ่งมั่นของเชลล์ในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ Powering Progress ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อมุ่งสู่การเป็นธุรกิจพลังงานที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ ในทุกขั้นตอนการปฏิบัติงาน ทั้งในส่วนของผลิตภัณฑ์และบริการ ผลักดันการเจริญเติบโตของธุรกิจที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เคียงข้างสังคมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพร้อมไปกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเน้นที่การเลี่ยง (Avoid) ลด (Reduce) และชดเชย (Compensate) อีกด้วย


Green Share!

Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *