
องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) ร่วมกับ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI)
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
(องค์การมหาชน) ได้จัดงาน TBCSD Climate Action “ต้นแบบธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (Low Carbon and
Sustainable Business)” # Season 3: กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค (พลังงานเชื้อเพลิง) ขึ้น
โดยเป็นการจัดงานผ่านระบบออนไลน์ Zoom และ ผ่านทาง Facebook Live เพจของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) และ
เพจขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ
ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ
ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานที่ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึง
บทบาทขององค์กรภาคธุรกิจไทยในการร่วมแก้ไขปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม (Country Issue)
และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ
และการยกระดับมาตรฐานขององค์กรภาคธุรกิจไทยไปสู่การเป็นองค์กรต้นแบบธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (Low Carbon and
Sustainable Business)
อันเป็นการยกระดับประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตอบสนองนโยบายตามเป้าหมายของประเทศไทยและมุ่งสู่ความยั่งยืน
โดยงาน TBCSD Climate Action “ต้นแบบธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (Low Carbon and Sustainable
Business)” มีกำหนดจัดงานทั้งหมดจำนวน 5 ครั้ง ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน 2565 ตามประเภท
กลุ่มอุตสาหกรรมอันครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ซึ่งในครั้งนี้ถือว่าเป็นการจัดงานในครั้งที่ 3
ประเภทกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค (พลังงานเชื้อเพลิง) โดยได้มีการจัดงานครั้งที่ 1 ประเภทกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ก่อสร้าง
และ
นิคมอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565 และ ครั้งที่ 2 ประเภทกลุ่มธุรกิจการเงิน และ กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์
เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ตามลำดับ
โดยงานในวันนี้มี ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) และ
เลขาธิการองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) เป็นประธานกล่าวเปิดงานและกล่าวว่า
“ปัจจุบันองค์กรภาคธุรกิจได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ
ในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดคล้องกับนโยบายสำคัญของประเทศ ได้แก่ วาระแห่งชาติ BCG และการมุ่งไปสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero Emission
หรือ Carbon Neutrality ในอนาคต
นับได้ว่าการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจดังกล่าวเป็นการตอบสนองนโยบายของภาครัฐในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ค
วามยั่งยืนในอนาคต
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
เป็นประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญทั้งในระดับประเทศระดับภูมิภาค และระดับโลก
ซึ่งองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD)
เป็นเครือข่ายธุรกิจด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดเครือข่ายหนึ่งของประเทศได้มีความมุ่งมั่นที่จะร่วมขับเคลื่อนแก้ไขประเ
ด็น Climate Change อย่างเป็นรูปธรรม โดยร่วมมือกับหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
พร้อมทั้ง ได้ร่วมหารือกับกลุ่มองค์กรสมาชิก TBCSD
ซึ่งเป็นองค์กรภาคธุรกิจชั้นแนวหน้าของประเทศที่เป็นผู้นำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนจำนวนกว่า 43 องค์กร
อันครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เพื่อกำหนด Climate Action ให้ชัดเจน โดยการกำหนดเป้าหมาย
มาตรการและกรอบกิจกรรมที่ภาคธุรกิจสามารถดำเนินการร่วมกันเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนองค์กรสู่ต้นแบบธุรกิจคาร์บอนต่ำ
และยั่งยืน (Low Carbon and Sustainable Business) พร้อมทั้ง การสร้างความรู้
ความเข้าใจในการดำเนินงานของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อร่วมกันขยายผลและผลักดันระดับนโยบายของประเทศ
อันเป็นการแสดงออกถึงพลังจากการรวมตัวขององค์กรภาคธุรกิจไทยในการขับเคลื่อนสู่สังคมคาร์บอนต่ำและสร้างสังคมที่เป็นมิ
ตรกับสิ่งแวดล้อมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต”
ภายในงานได้รับเกียรติจาก คุณจิรวัฒน์ ระติสุนทร
รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาร่วมบรรยายพิเศษ เรื่อง
สรุปผลของการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand
Climate Action Conference) กล่าวว่า “ความสำคัญและผลลัพธ์ของการจัดประชุม TCAC
ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยเป็นเวทีเสริมสร้างการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สู่การบรรลุเป้าหมายของประเทศร่วมกันในทุกภาคส่วน เสริมสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจให้กับประชาชนในวงกว้าง
และเน้นย้ำเจตนารมณ์ของประเทศไทยในการรับมือกับปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับประชาคมโลกอย่างเ
ป็นรูปธรรม ผ่านการบูรณาการนโยบายสู่การปฏิบัติในรายสาขา อาทิ พลังงานและการขนส่ง อุตสาหกรรม เกษตร
การจัดการของเสีย และขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ การจัดทำ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ….
การพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะภาครัฐและภาคเอกชน
การเข้าถึงการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการประสานความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ
ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ โดยงาน TCAC กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือมากขึ้นระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน
ภาคประชาสังคมและเยาวชนรุ่นใหม่ ในการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ยั่งยืนและบรรลุเป้าหมายระดับโลกไปพร้อมกัน ทั้งนี้
ประเทศไทยจะได้ประกาศความสำเร็จจากการดำเนินการของประเทศที่เป็นรูปธรรมต่อประชาคมโลกในเวทีการประชุม
UNFCCC COP27 ต่อไป”
นอกจากนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณนพรัตน์ พรหมอินทร์ ผู้จัดการ สำนักส่งเสริมตลาดคาร์บอนและนวัตกรรม
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่ง TGO เป็นหนึ่งในองค์กรพันธมิตรของ TBCSD
มาร่วมบรรยายพิเศษ เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนของภาคธุรกิจไทยสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน กล่าวว่า
“แนวทางการขับเคลื่อนของภาคธุรกิจไทยสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนสำคัญที่ อบก. ดำเนินการผ่าน รมว.ทส.
ต่อแผนการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 – 2566 ได้แก่
การพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิตและส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคธุรกิจ นอกจากนี้
อบก. ยังขยายเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network: TCNN)
เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรสมาชิกเครือข่าย TCNN
ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีองค์กรสมาชิกแล้วจำนวน 261 องค์กร (As of
Aug,3 2022)
ทั้งนี้ อบก. ได้ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการบริหารจัดการ Carbon Credit ด้วยความร่วมมือกับ
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการพัฒนา Platform การซื้อขายคาร์บอนเครดิต


ซึ่งเชื่อมโยงกับระบบทะเบียนคาร์บอนเครดิตของ อบก. เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและสะดวกในการใช้งานต่อภาคธุรกิจ
นอกจากนี้ อบก. ยังมุ่งยกระดับมาตรฐานคาร์บอนเครดิต T-VER ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
โดยปัจจุบันตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตมีความตื่นตัวเป็นอย่างมาก โดยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน
มีปริมาณการซื้อขายเครดิตจากโครงการ T-VER ทั้งสิ้น 1,934,522 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คิดเป็นมูลค่ารวม
146,976,143 บาท และอัตราการเติบโตของปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้น 4 เท่า และมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้น 12.8 เท่า
เมื่อเทียบกับปีก่อน (As of Aug,3 2022)”
และในช่วงการเสวนา เรื่อง หัวข้อ
“การยกระดับมาตรฐานขององค์กรธุรกิจไทยไปสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืนในอนาคต”
ได้รับเกียรติจากผู้บริหารขององค์กรสมาชิก TBCSD ในกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค (พลังงานเชื้อเพลิง)
มาร่วมเป็นวิทยากรเพื่อร่วมนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการยกระดับมาตรฐานขององค์กรภาคธุรกิจไทยไปสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำ
และยั่งยืนในอนาคต อันเป็นการยกระดับประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้
คุณกลอยตา ณ ถลาง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อความยั่งยืน บริษัท บางจาก
คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “กลุ่มบางจากฯ ได้ประกาศเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอนในปี พ.ศ. 2573 และ Net
Zero ในปีพ.ศ. 2593 โดยให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมจากการทำธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง
ได้รับการรับรองการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอบก. ในปี 2564 และได้รับรางวัลองค์กรคาร์บอนต่ำ
ประเภทยอดเยี่ยมจากอบก. ในปีเดียวกัน และล่าสุดได้จัดทำแผน BCP 316 NET เพื่อไปสู่เป้าหมาย Net Zero ได้แก่ B =
Breakthrough Performance เน้นกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง
การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน C = Conserving Nature and Society
สนับสนุนการเพิ่มการดูดซับคาร์บอนด้วยวิถีธรรมชาติ ผ่านระบบนิเวศจากป่าและทางทะเล (Green & Blue Carbon) P =
Proactive Business Growth and Transition เปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่พลังงานสะอาด และ NET = Net Zero Ecosystem
สร้างระบบนิเวศเพื่อรองรับการไปสู่เป้าหมาย Net Zero อาทิ ธุรกิจแพลตฟอร์มให้เช่ามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า Winnonie
และการก่อตั้ง Carbon Markets Club ส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิต และได้เชิญชวนให้ทุกภาคส่วนมาร่วมกัน ‘ลด ละ
เริ่ม’ ‘ลด’ การสร้างรอยเท้าคาร์บอนให้แก่โลกจากการทำธุรกิจและกิจวัตรประจำวัน ‘ละ’ เว้นการสร้างภาระให้โลก และ ‘เริ่ม’
ลงมือทันที เพื่อส่งต่อโลกที่สวยงามให้ลูกหลาน มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำร่วมกัน”
คุณปัณวรรธน์ นิลกิจศรานนท์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายวิศวกรรมโครงสร้าง บริษัท
เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า “ตลอด 6 ทศวรรษในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
เชฟรอนดำเนินภารกิจจัดหาพลังงานให้กับประเทศ ควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง
โดยเราเชื่อว่าพลังงานแห่งอนาคต คือ พลังงานที่ปล่อย
ก๊าซคาร์บอนในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี ในขณะที่ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่การจัดหาพลังงานสะอาดอย่าง
Renewable Energy ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก๊าซธรรมชาติจึงนับเป็นพลังงานฟอสซิลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ
เป็นทางผ่านไปสู่พลังงานสะอาด หรือ transition fuel ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่จำเป็นและเป็นที่ต้องการสูงทั้งในปัจจุบันและ
ในอนาคตอีกหลายปีข้างหน้า เชฟรอนจึงมุ่งมั่นในการยกระดับขีดความสามารถในการจัดหาและส่งมอบพลังงานที่สะอาดขึ้น
อย่างปลอดภัย และเชื่อถือได้ ในราคาที่ เหมาะสม เพื่อบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด (Energy Transition)
สอดรับกับแผนพลังงานชาติของรัฐบาล ในส่วนของเชฟรอนเอง ได้ตั้งเป้าลดปริมาณความเข้มข้นของการปล่อยคาร์บอน
ในกระบวนการปฏิบัติงานในประเทศไทยลง 20% ภายในปี 2028 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)
ของเชฟรอนทั่วโลกภายในปี 2050 ด้วยกลยุทธ์ในการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ ได้แก่ Energy Efficiency –
ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์เครื่องจักร, Flare and Vent –
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงด้วยกระบวนการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และ Feasibility Study-
ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีมาใช้จัดหา
พลังงานที่สะอาดขึ้น นอกจากนี้ เรายังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานกลาง โดยเฉพาะ Chevron New Energies (CNE)
เพื่อสนับสนุนธุรกิจในการลดคาร์บอนให้ได้มากที่สุด“
ดร.ทวีศักดิ์ บรรลือสินธุ์ กรรมการบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และผู้จัดการกิจกรรมองค์กร
และรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด กล่าวว่า “บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ
เอ็กซอน โมบิล คอร์ปอเรชั่น มีนโยบายหลักที่มุ่งมั่นในการจัดหาพลังงานคาร์บอนต่ำ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ในการเดินไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ดังที่สะท้อนให้เห็นใน 4
เสาหลักของกลยุทธ์ด้านสภาพอากาศของ
เอ็กซอน โมบิล: 1. การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการดำเนินงานภายในองค์กร 2. การจัดหาผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยการ
ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของลูกค้า 3. การเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแนวทางเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ
- การพัฒนาและนำเทคโนโลยีต่าง ๆ (technology solutions) ไปใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในวงกว้าง ดังนั้น
การร่วมมือของทุกภาคส่วน จะนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานขององค์กรธุรกิจไทย
และความเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืนในอนาคต”
คุณวรพงษ์ นาคฉัตรีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า
“ปตท. ตระหนักและให้ความสำคัญในการเร่งแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และพร้อมเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ กลุ่ม ปตท.
จัดตั้งคณะทำงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์กลุ่ม ปตท.
(PTT Group Net Zero Task Force หรือ G-NET) เพื่อร่วมกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ และผลักดันการดำเนินงานของ
กลุ่ม ปตท. ทั้งในและต่างประเทศ กำหนดกลยุทธ์ 3P เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emission คือ 1. Pursuit of Lower
Emissions ผลักดันโครงการที่สำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ การดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
การดักจับและนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ประโยชน์ การใช้พลังงานหมุนเวียนทดแทนการใช้พลังงานฟอสซิล
ในกระบวนการดำเนินงาน การศึกษาโอกาสความเป็นไปได้ของการใช้พลังงานไฮโดรเจน 2. Portfolio Transformation
ปรับการลงทุนมุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ ปรับพอร์ทการลงทุนขยายไปพลังงานแห่งอนาคตให้มากขึ้น
โดยครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทานของพลังงานสะอาด ตั้งแต่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน
ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า พลังงานไฮโดรเจน และการใช้พลังงานรูปแบบใหม่ ๆ 3. Partnership with Nature and Society
ร่วมกับภาครัฐและชุมชนปลูก
และบำรุงรักษาป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีทางธรรมชาติ ทั้งหมดนี้
เป็นความมุ่งมั่นของกลุ่ม ปตท. ที่พร้อมจะร่วมกันขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต
และพร้อมสนับสนุนเป้าหมายของประเทศด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน
และการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์”
คุณสมเกียรติ เลิศฤทธิ์ภูวดล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายกลยุทธ์แผนและพัฒนาธุรกิจองค์กร บริษัท ไออาร์พีซี
จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ไออาร์พีซีมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของบรรษัทภิบาลและการสร้างความสมดุลของเศรษฐกิจ
สังคม สิ่งแวดล้อม โดยกำหนดเป้าการเป็นองค์กรที่เป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2050
และปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2060 ดำเนินการผ่านแผนกลยุทธ์ ERA ประกอบด้วย Eco-
operation and Technology มุ่งเน้นการลดการใช้พลังงาน ปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีสะอาด
การเปลี่ยนแหล่งเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าเป็นพลังงานทดแทนและเชื้อเพลิงทางเลือก Reshape portfolio
มุ่งเน้นการสร้างธุรกิจผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Absorption and offset
การใช้เทคโนโลยีการดูดซับและกักเก็บคาร์บอน อาทิ CCS การปลูกป่า รวมถึง offset ด้วยวิธีต่าง ๆ
เพื่อขับเคลื่อนในการนำองค์กรสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อสังคม ชุมชน และประเทศชาติอย่างยั่งยืน
ตอกย้ำจุดยืนการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างสิ่งที่ดีสู่อนาคต”
คุณธนสิทธิ์ วิชัยไพโรจน์วงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกลยุทธ์องค์กร บริษัท
ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. กล่าวว่า “ปตท.สผ.
มุ่งมั่นที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการก๊าซเรือนกระจกและแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน
โดยได้กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 พร้อมทั้ง
วางแนวทางการดำเนินงานผ่านแนวคิด EP Net Zero 2050 ที่ครอบคลุมทั้งการเลือกลงทุนในโครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมาย
Net Zero GHG Emissions และเน้นการลงทุนในโครงการก๊าซธรรมชาติ
โดยนำปัจจัยเกี่ยวกับความเข้มของปริมาณการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกมาพิจารณาประกอบการลงทุนในโครงการใหม่ ๆ รวมไปถึงมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกในกระบวนการผลิต ตลอดจนการดำเนินโครงการเพื่อสังคม เช่น การปลูกป่าบกและป่าชายเลน เพื่อเพิ่มพื้นที่
ในการดูดซับก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ เทคโนโลยีสำคัญที่หลายประเทศทั่วโลกได้นำมาใช้และได้รับการยอมรับแล้ว คือ
การดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage) หรือ CCS
ซึ่งมีศักยภาพในการช่วยลดการปล่อย
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ในปริมาณมาก โดย ปตท.สผ. ได้ริเริ่มศึกษาและพัฒนาโครงการ CCS เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
ที่แหล่งก๊าซธรรมชาติอาทิตย์ในอ่าวไทย และคาดว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะมีบทบาทสำคัญในการก้าวสู่การเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำ
รวมทั้งช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมและประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้ในอนาคต”
คุณวิศน สุนทราจารย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก
จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “OR ดำเนินธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ “Empowering All Toward Inclusive Growth – เติมเต็มโอกาส
เพื่อทุกการเติบโต ร่วมกัน” มุ่งสู่เป้าหมาย OR 2030 Goals ที่ผนวก Healthy Environment เป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญ ทั้งนี้
OR เล็งเห็นถึงปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและระดับสากล ที่สอดคล้องกับพันธกิจหลักของ OR ประกอบด้วย
(1) ปัญหาด้านขยะและของเสีย; (2) ปัญหาการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมพลังงานไปสู่พลังงานที่สะอาดมากขึ้น; และ
(3) ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือสภาวะโลกรวน OR
จึงมุ่งเน้นการลดของเสียและขยะภายใต้ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดและคาร์บอนต่ำสำหรับ OR
ตลอดจนคู่ค้า ลูกค้า และผู้บริโภค อีกทั้งมุ่งมั่นเพื่อ
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี 2030 และ Net Zero ภายในปี 2050 ดังนั้น
ด้วยวิสัยทัศน์และเป้าหมายดังกล่าว OR จึงกำหนดบทบาทและภารกิจสำคัญในการดำเนินการสนับสนุนและสร้างความ
มีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มในห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ ตลอดจนทุกภาคส่วน ผ่านการเติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโต
อย่างยั่งยืน และมุ่งสู่เป้าหมายของสังคมคาร์บอนต่ำ ร่วมกัน”
คุณนิคม ฆ้องนอก ผู้จัดการฝ่ายกิจการองค์กรและความยั่งยืน บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า
“จากวิสัยทัศน์ “สร้างสรรค์คุณภาพชีวิต ด้วยพลังงานและเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน” กลุ่มไทยออยล์มีเป้าหมายเติบโตเป็นองค์กร
100 ปี และเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในระดับสากล ดังนั้น ไทยออยล์จึงยกระดับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่
Net Zero Greenhouse Gas Emission (GHG) ในอนาคต ผ่านกลยุทธ์ 3Cs ได้แก่ 1) Cut Down Existing Emission
เพื่อลดการปล่อย GHG จากกระบวนการผลิตในปัจจุบันด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง
และการใช้เทคโนโลยีการดักจับและใช้ประโยชน์คาร์บอน (CCUS) 2) Compensate Residual Emission การชดเชย GHG
ด้วยการปลูกป่าเพื่อดูดกลับคาร์บอน และการจัดซื้อคาร์บอนเครดิตเพิ่มเติมในกรณีที่มีความจำเป็น 3) Control Future
Emission
การควบคุมการปล่อย GHG เพิ่มเติมจากธุรกิจในอนาคตผ่านการปรับพอร์ทการลงทุนโดยการแสวงหาโอกาสใน New S-Curve
Business ที่มุ่งเน้นการลดการปล่อยคาร์บอน เช่น ธุรกิจชีวภาพ และ ธุรกิจเทคโนโลยีลดการปล่อยคาร์บอน นอกจากนี้
กลุ่มไทยออยล์ยังคงดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลชุมชนและสังคม ตลอดจนการบริหารจัดการด้านบรรษัทภิบาล
เพื่อรักษาความผูกพันที่ดีต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ”
และท้ายสุดหลังจากจบงานในครั้งนี้ องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
(TEI) จะดำเนินการสรุปผลข้อมูลภาพรวมของงานฯ
เพื่อถ่ายทอดออกมาเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการยกระดับมาตรฐานขององค์กรภาคธุรกิจไทยไปสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่
งยืนในอนาคต เพื่อนำไปสู่แนวทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและ
เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเดินหน้าขับเคลื่อนประเด็น Climate Change เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของประเทศไทยที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ ขออนุญาตประชาสัมพันธ์กำหนดการจัดงาน TBCSD Climate Action “ต้นแบบธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน
(Low Carbon and Sustainable Business)” # Season 4: กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม และ กลุ่มพลังงานไฟฟ้า ในวันจันทร์ที่
3 ตุลาคม 2565 เวลา 13.30 – 16.30 น. และกลับมาพบกันอีกครั้งในการจัดงาน # Season 4 ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้
ท่านสามารถเข้าไปดูรายละเอียดข้อมูลประเด็นสำคัญในการนำเสนอของวิทยากร
แต่ละท่านภายในงานฯ ได้โดยการ Scan QR Code ด้านล่างนี้