“มาตรการ VRT” ตัวช่วยธุรกิจเอสเอ็มอีไทย คว้าโอกาสสร้างรายได้ในยุคการท่องเที่ยวบูม”


ปีที่ผ่านมา การท่องเที่ยวขอไทยกลับมาคึกคักอีกครั้งด้วยปัจจัยจากการฟื้นตัวหลังผ่านพ้นวิกฤตโรคระบาด และปัจจัยที่สอง “กรุงเทพฯ” ได้รับการจัดอันดับให้เป็น “เมืองที่ดีที่สุด (Best Cities 2024)” ในการเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยว (Destination) ในทวีปเอเชียแปซิฟิก ส่งผลให้ช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามากว่า 14 ล้านคน เพิ่มขึ้น 38% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สร้างรายได้กว่า 7 แสนล้านบาท

.เมื่อจำนวนและรายได้ที่มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงเห็นโอกาสของผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีในกรุงเทพฯ โดยวางแผนที่จะขับเคลื่อนมาตรการการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ หรือ “มาตรการ VAT Refund for Tourist: VRT ” เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ และสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั้งในภาคการบริการและการค้า

SME D Bank จึงชวนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มาทำความรู้จักกับ “มาตรการ VRT” ไปพร้อมกันว่า มาตรการนี้คืออะไร? และช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีในยุคแห่งการท่องเที่ยวได้อย่างไร

มาตรการ VRT คืออะไร?
มาตรการ VRT (VAT Refund for Tourist) คือ มาตรการส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอีเข้าร่วมโครงการการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับนักท่องเที่ยว เพื่อช่วยสร้างรายได้ให้กับธุรกิจและผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ขยายโอกาสสร้างรายได้เพิ่มจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยอาศัยโอกาสจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย

.คุณสมบัติของธุรกิจเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมมาตรการ VRT ได้ มีอะไรบ้าง?

  1. เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
  2. เป็นผู้ประกอบการที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  3. เป็นผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Invoice)
    .ต้องการยื่นขออนุมัติเป็นผู้ประกอบการภายใต้มาตรการ VRT ต้องทำอย่างไรบ้าง?
  4. ยื่นแบบคำขออนุมัติเป็นผู้ประกอบการ VRT ได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ที่สถานประกอบการสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
  5. หากผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้สำนักงานใหญ่เป็นผู้ยื่นแบบ คท.1 ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ที่สถานประกอบการสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
  6. ยื่นแบบคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ต www.rd.go.th/vrt
    .สิทธิพิเศษที่ผู้ประกอบการภายใต้มาตรการ VRT จะได้รับ มีอะไรบ้าง?
  7. ได้สิทธิ์ใช้ “ป้ายสัญลักษณ์ระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว” เพื่อแสดงสิทธิพิเศษและการเป็นสถานประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ VRT
  8. ได้สิทธิ์ใช้ “สัญลักษณ์ระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว” สำหรับเผยแพร่ในเอกสาร หรือ เว็บไซต์ ของทางบริษัท
  9. ได้รับการส่งเสริมการขายโดย “กรมสรรพากร” ผ่านการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานประกอบการ เช่น ภาพถ่ายสถานประกอบการ ภาพถ่ายสินค้า บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร (www.rd.go.th/vrt)
  10. ได้รับสิทธิ์ในการขอให้เจ้าหน้าที่เดินทางไปให้คำแนะนำการปฏิบัติเกี่ยวกับการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว ณ สถานประกอบการได้
    .
    ทำความรู้จักมาตรการ VRT กันไปแล้ว หากผู้ประกอบการท่านใด อยากคว้าโอกาสเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจ SME D Bank พร้อมช่วยเหลือด้านความรู้การทำธุรกิจ ให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงให้การสนับสนุนเงินทุนผ่านทาง “สินเชื่อ” ที่มีให้เลือกหลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้เลือกยื่นคำร้องขอกู้สินเชื่อที่เหมาะกับธุรกิจของตัวเอง เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนให้พร้อมกัน

Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *