ความตื่นตัวกับการจัดการปัญหาการจัดการมูลฝอยมีต่อเนื่องและเป็นระยะ พบว่ามีรูปแบบความร่วมมือในการจัดการปัญหาที่เปลี่ยนไปตามลักษณะของปัญหาสภาวะการณ์แต่ละช่วง จากที่เราเคยรับรู้และลุกขึ้นมาร่วมกันจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ก็ขยับมุ่งให้ความสำคัญในประเด็นของปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น อาทิ ขยะทะเล ขยะพลาสติก ขยะอาหาร ตามมา พร้อมมีแผนและมาตรการรองรับในการจัดการเชิงนโยบาย การใช้นวัตกรรม และการมีส่วนร่วมเป็นแรงเสริม กระตุก และกระตุ้นการจัดการที่หลากหลาย
สถานการณ์วิกฤติปัญหาขยะของเกาะลันตาที่ผ่านมา พบว่า อปท.ขาดศักยภาพ และด้านกายภาพของระบบนิเวศเกาะ ส่งผลให้อำเภอเกาะลันตา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 6 แห่ง ชุมชน สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการในพื้นที่ ตอบรับและให้ความร่วมมือบริหารจัดการ เกิดรูปแบบและแนวปฏิบัติที่ดีการจัดการมูลฝอยต้นทาง ทั้งการใช้ประโยชน์จากวัสดุมูลฝอยให้มากขึ้น โดยเฉพาะวัสดุพลาสติกที่จะเล็ดรอดและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล นำมาแปรรูปและเพิ่มมูลค่า ด้วยกระบวนการและเครื่องจักรจากศูนย์สาธิต 2 แห่ง การจัดการเศษอาหารเป็นอาการสัตว์และแปรรูปเป็นปุ๋ยหมัก การรณรงค์คัดแยกมูลฝอยในงานเทศกาลต่าง ๆ เพื่อลดปริมาณขยะไปยังหลุมฝังกลบ อันมีส่วนช่วยลดงบประมาณของท้องถิ่นและขยะยังหลุมฝังกลบ
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI ได้มีส่วนร่วมกับภาคีดำเนินงาน การศึกษาและพัฒนาโมเดลความร่วมมือห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) การจัดการมูลฝอย และพลาสติก ด้วยแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่เกาะของประเทศ เมื่อปลายปี 2564 ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ พร้อมได้ริเริ่มแนวปฏิบัติที่ดีร่วมกันแก้ไขปัญหาให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ลดปริมาณขยะที่หลุมฝังกลบ จัดการใช้ประโยชน์ หมุนเวียนใช้ประโยชน์ เพื่อเป้าหมายในการเสริมสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ โดยการสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และกลุ่ม PPP Plastics ตั้งแต่ปลายปี 2564 เป็นต้นมา
คุณวิลาวรรณ น้อยภา หัวหน้าโครงการพัฒนาโมเดลความร่วมมือฯ กล่าวถึงข้อมูลว่าการดำเนินริเริ่มแนวปฏิบัติดี ถูกพัฒนาขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Learning-by-doing) โดยได้ถูกออกแบบกิจกรรมและการปฏิบัติให้มีความหลากหลายและแตกต่างกันแต่มีความสอดคล้องและสนับสนุนต่อการแก้ปัญหาการจัดการมูลฝอยและสิ่งแวดล้อมโดยรวมของพื้นที่เกาะลันตา ยึดข้อมูลและสถานการณ์และสภาพปัญหาขยะมูลฝอยของพื้นที่ ปริมาณและสัดส่วนขององค์ประกอบมูลฝอยเป็นพื้นฐาน และความต้องการแก้ร่วมสำหรับกำหนดกิจกรรมกับเป้าหมายการลดปริมาณมูลฝอยและพลาสติกที่ต้นทาง จนมีแนวปฏิบัติดี อย่างน้อย 9 แนวทางการจัดการมูลฝอยและพลาสติกเด่นให้้เกิดการหมุนวนเศรษฐกิจ หมุนเวียน กรณีีเกาะลันตา เพื่อส่งต่อการจัดการที่่ยั่งยืนและการขยายผลในพื้นที่เกาะอื่น ๆ ของประเทศ ตลอดจนเกิดเป็นโมเดลความร่วมมือบริหารจัดการมูลฝอยและพลาสติกเกาะลันตา ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ยืนยันจากรูปธรรมผลความสำเร็จจากการปฏิบัติ Are Base สู่การเชื่อมโยง ขยายความร่วมมือ และยกระดับการทำงานระหว่างภาคีกลุ่มต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน
ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้กล่าวเน้นย้ำและเสริมว่า แนวทางการขับเคลื่อนโมเดลความร่วมมือบริหารจัดการจัดการมูลฝอยและพลาสติกเกาะลันตาข้างต้น ไปสู่การปฏิบัติและขยายผลนั้น สามารถนำไปสู่การปฏิบัติและประยุกต์ได้ไม่ยาก โดยทุกฝ่ายต้องมองเห็นปัญหาร่วมกันและเป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันทำ ช่วยกันทำ ปฏิบัติให้เห็นผล เป็นตัวอย่างส่งต่อให้เกิดระบบการจัดการที่ต้นทาง กลางทาง และนำส่งไปใช้ประโยชน์ยังปลายทางได้อย่างเหมาะสม คัดแยกแล้ว มีการรวบรวมอย่างเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้การจัดการมูลฝอยได้ง่ายๆ และค่อยๆ ขยายวงกว้างขึ้น อีกทั้ง ยังต้องได้รับการเสริมพลังจากหน่วยงานภายนอกร่วมด้วย
ความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับผู้ส่วนเกี่ยวข้องในระบบ จะมีส่วนสำคัญและเกี่ยวข้องทั้งระบบห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ด้วยการแสวงหาบุคคคล หน่วยงาน ชุมชน เข้ามาร่วมกันทำงานทุก ๆ ขั้นตอน ของการจัดการมูลฝอย ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง วางบทบาทการทำงาน พัฒนาให้เป็นกลไกหลักในบริหารการจัดการและส่งต่อระบบที่เหมาะสม ไม่สะดุด ให้พร้อมส่งต่อการจัดการที่ยั่งยืนในระยะยาว ไม่ว่าสภาพของปัญหาจะเปลี่ยนไปอย่างไร แต่แนวทางการจัดการแก้ไขปัญหา ต้องมองทั้งระบบและมีความเชื่อมโยงกันทั้งระบบ จะต้องครอบคลุมทั้งการจัดการต้นทาง กลางทาง และปลายทางการจัดการขยะมูลฝอย เพื่อเอื้อให้เกิดความร่วมมือและสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับผู้ส่วนเกี่ยวข้องในระบบ โดยควรมุ่งการจัดการที่ต้นทางให้ได้มากที่สุด รูปแบบการจัดการและโมเดลความร่วมมือจะต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่ มีกิจกรรมหรือแนวปฏิบัติที่เหมาะสมกับสถานการณ์ บริบท และศักยภาพของชุมชนและท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการมีเจ้าภาพหลักที่ชัดเจนแล้วค่อยพัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายและเชื่อมโยงความร่วมมือ พร้อมมีการติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ร่วมกันผลักดัน และบูรณาการความร่วมมือให้เป็นไปตามความเหมาะสม ตั้งเป้าหมายลดปริมาณขยะกำจัดยังหลุมฝังกลบและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากที่มีอยู่
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทุกหน่วยงานจะมีความพยายามและมีส่วนร่วมกันในระดับหนึ่งแล้ว ในความเป็นจริง เรายังพบว่ามีปริมาณขยะใหม่และสะสมที่ต้องกำจัดจำนวนมากในทุกพื้นที่ และยังคงมีแนวโน้มและวิกฤติหากยังไม่ได้รับแก้ไขที่เหมาะสมในอนาคต กระบวนการ CE Lanta มีบทบาทและส่วนร่วมในการปลุกกระแสและกระตุ้นความร่วมมือการจัดการขยะมูลฝอยของเกาะลันตา ด้วยความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ ในการบริหารจัดการขยะข้างต้นได้ในระดับหนึ่ง สิ่งสำคัญกระบวนการนี้ ยังต้องเดินหน้าไปขับเคลื่อนงานให้มีจังหวะและสอดคล้องในระบบอย่างเป็นจังหวะ กับสถานการณ์ ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมได้ สำคัญต้องต่อเนื่อง ไม่แค่ปลุก แต่ต้องทำให้ตื่นขึ้นมาร่วมกันทำงาน ทุกฝ่ายต้องมองเห็นปัญหาร่วมกันและเป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันทำ ช่วยกันส่งต่อเพื่อให้เกิดระบบการจัดการที่ต้นทาง กลางทาง และนำส่งไปใช้ประโยชน์ยังปลายทางได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้การจัดการมูลฝอยได้ค่อย ๆ ขยายวงกว้างขึ้น อีกทั้ง ยังต้องได้รับการเสริมพลังจากหน่วยงานภายนอกที่ดี สำคัญอย่าให้กระแสแผ่น ต้องกระตุ้นให้เกิดความต่อเนื่อง การดำเนินกิจกรรมและผลงานถึงจะยั่งยืนและเกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ได้ และช่วยกันลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัดตั้งแต่ต้นทางตามทิศทางและนโยบายของประเทศต่อไป