ตลอดพระชนม์ชีพแห่งการครองราชย์ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรินทรมหาภูมิพลอดุยเดช มหาราช ทรงมีโครงการพระราชดำริ ที่เกี่ยวกับ ป่า ดิน และแหล่งน้ำ ซึ่งทรงวางแผนอย่างเป็นระบบ ยากที่จะมีใครเข้าใจ และวางระบบได้ เช่นเดียวกับพระองค์ ดังที่แสดงไว้อย่างชัดเจนในกระแส พระราช ดำรัสที่พระราชทานเนื่องในพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ “ The Third Princess Chulabhorn Science Congress “ ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพ เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ดังนี้ “ การพัฒนาแหล่งน้ำนั้น ในหลักใหญ่คือ การควบคุมน้ำให้ได้ดังประสงค์ ทั้งปริมาณ และคุณภาพ กล่าวคือ เมื่อมีปริมาณน้ำมากเกินไป ก็ต้องหาทางระบายออกให้ทันการณ์ไม่ปล่อยให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายได้ และในขณะที่เกิดภาวะขาดแคลน ก็จะต้องมีน้ำกักเก็บไว้ใช้อย่างเพียงพอทั้งมีคุณภาพเหมาะสมแก่การเกษตร การอุตสาหกรรมและการอุปโภคบริโภค ปัญหาอยู่ที่ว่าการพัฒนาแหล่งน้ำนั้นอาจมีผลกระทบกระเทือนกับสิ่งแวดล้อมบ้าง แต่ถ้าไม่มีการควบคุมน้ำที่ดีพอแล้ว เมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้น ก็จะก่อให้เกิดความเดือนร้อนสูญเสีย ทั้งในด้านเศรษฐกิจและในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งส่งผลกระทบเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง “
ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๓๙ คณะรัฐบาลไทยได้เทิดพระ เกิยรติคุณในฐานะทีมีพระมหากรุณาธิคุณในการพัฒนาทรัพยากรน้ำไทยถวายพระราชสมัญญาว่า “ พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ “ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา ดังคำกราบบังคมทูลของ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ว่า “ ด้วยเป็นที่ประจักษ์ แก่อาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงว่า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของ ทรัพยากรน้ำเป็นอย่างยิ่ง ดังที่ได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้ว่า “ น้ำคือชิวต “ อีกทั้งยังได้พระราชทาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นจำนวนมาก โดยใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท ได้ทรงศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เอง ทั้งจากเอกสารและรายงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและ การจัดการทรัพยากรน้ำ ทรงศึกษารายละเอียดจากแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศถึงพิกัดที่ตั้งหมู่บ้านใน ท้องที่ชนบทห่างไกล และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงตรวจสภาพพื้นที่ภูมิประเทศจริง ทรงกำหนดโครงการ ต่างขึ้นบนแผนที่ จากนั้นพระราชทานให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปพิจารณาดำเนินการพัฒนาตามความ เหมาะสม ซึ่งได้ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของราษฎรซึ่งทำให้ราษฎรได้มีน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และทำการเกษตรตามความต้องการอย่างเพียงพอในทุกฤดูกาล
ความสนพระราชหฤทัยในเรื่องน้ำของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมิใช่แต่งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อ บรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของพสกนิกรอันเนื่องจากการขาดแคลนน้ำเท่านั้น ยังสนพระราชหฤทัย ในการจัดทรัพยากรน้ำเพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการ ดำรงชีวิตของมนุษย์ อาทิ การระบายน้ำออกจากที่ลุ่ม กรณีพื้นที่น้ำเกิดน้ำท่วมขังเป็นประจำ การป้องกัน และบรรเทาปัญหาอุทกภัยตลอดจนการแก้ไขบำบัดน้ำเสีย
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระปรีชาสามารถ และพระอัจฉริยภาพของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำ ข้าพระพุทธเจ้า ในนามของรัฐบาลและ ประชาชนชาวไทยทั้งมวล จึงพร้อมใจกัน ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายพระราชสมัญญาแด่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า “ พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ “ ซึ่งมีผลต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
เรื่องโดย นายจาตุรันต์ วัฒนประทีป ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล