นายไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกพร้อมรับโอกาสในการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากรายงาน Asian Economic Integration Report ประจำปี พ.ศ. 2564 ระบุว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะได้รับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี หรือมากกว่า 8.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2568 การเติบโตของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลให้มีการสร้างงานใหม่ประมาณ 65 ล้านตำแหน่งต่อปีในภูมิภาคนี้ ไปจนถึงปี พ.ศ. 2568
ด้วยเสถียรภาพของธุรกิจทั้งด้านทรัพยากรมนุษย์และการเงิน จะทำกำไรสุทธิสูงสุดในประวัติการณ์ และการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องของหัวเว่ย พิสูจน์ว่ากลยุทธ์หลักทางธุรกิจที่เน้นการเชื่อมต่อ การประมวลผล และการพัฒนาธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งธุรกิจดิจิทัล พาวเวอร์ และคลาวด์ จะขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิกอย่างสมบูรณ์แบบ
ใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทรนด์สำคัญด้านดิจิทัล
เมื่อโควิด-19 ทำให้เราเห็นโอกาสใหม่จากการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผมรู้สึกตื่นเต้นกับความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของอนาคตดิจิทัลของเรา ในปี พ.ศ. 2565 พันธกิจและวิสัยทัศน์ของหัวเว่ยคือการนำดิจิทัลมาสู่ทุกคน ทุกบ้าน และทุกองค์กรเพื่อโลกที่เชื่อมต่อกันอย่างอัจฉริยะ และงาน Mobile World Congress 2022 ที่ผ่านมา ทำให้ผมคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีอย่างยิ่งที่จะเน้นย้ำวิสัยทัศน์ของเราเพื่อขยายไปสู่มุมมองสำหรับโลกอนาคตในปี พ.ศ. 2573
โลกอนาคตในปี พ.ศ. 2573 จะมีลักษณะเฉพาะตัวและส่งผลกระทบต่อชีวิตในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรม สังคมและเศรษฐกิจ หัวเว่ยได้คาดการณ์ตัวชี้วัด 4 ด้านไว้ด้วยกัน ได้แก่ ชีวิตดิจิทัล (Digital Life) อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Industries) โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructure) และผู้ให้บริการดิจิทัล (Digital Carriers)
สำหรับชีวิตดิจิทัล (Digital Life) เทคโนโลยี extended reality (XR) แบบใหม่และประสบการณ์มัลติมีเดียที่ได้รับการยกระดับจะขยายไปถึงผู้ใช้ 1 พันล้านคน นำเสนอโซลูชันสำหรับสุดยอดประสบการณ์ในการชมพิพิธภัณฑ์ไปจนถึงการช้อปปิ้ง เมื่อรวมความต้องการในการใช้ข้อมูลของบริการนี้เข้ากับอุตสาหกรรมดิจิทัลจะทำให้ปริมาณข้อมูลที่สร้างขึ้นทั่วโลกต่อปีมีแนวโน้มเกินหนึ่งล้านล้านกิกะไบต์ และค่าใช้จ่ายด้านแอปพลิเคชันในองค์กรกว่า 87% คือบริการระบบคลาวด์
โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructure) ช่วยประหยัดพลังงาน ลดการปล่อยมลพิษด้วยพลังงานหมุนเวียน คิดเป็น 42% ของการผลิตไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีไอซีทีที่มีอัตราการใช้พลังงานเพียง 2% ของโลก จะช่วยลดการปล่อยก๊าซ CO2 ลง 20%
นอกจากนี้ ผู้ให้บริการดิจิทัล (Digital Carriers) ยังมีบทบาทในการสนับสนุนการเชื่อมต่อกันมากกว่า 2 แสนล้านรายการ เพิ่มขีดความสามารถในการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ
โลกอัจฉริยะจะสร้างประสบการณ์ที่เหนือระดับ เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและจุดประกายการสร้างธุรกิจใหม่ ด้วยการเปิดรับโอกาสทางธุรกิจ เทคโนโลยีและความยั่งยืน เราหวังว่าจะทำงานร่วมกับลูกค้า คู่ค้า หน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรมและผู้บริโภคเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับอนาคตในวิถีดิจิทัล
ขับเคลื่อนนวัตกรรมในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
โลกอนาคตขึ้นอยู่กับแรงขับเคลื่อน 3 ประการ คือด้านธุรกิจ เทคโนโลยี และความยั่งยืน แรงขับเคลื่อนประการแรกโดยธุรกิจ เกิดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนการทำงานในยุคดิจิทัลและยกระดับการบริการ
แรงขับเคลื่อนประการที่สอง คือเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ ซึ่งรวมถึง 5G ขั้นสูง, 6G และ IPv6+ และเทคโนโลยีการประมวลผลที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับแอปพลิเคชันใหม่ ๆ
การเชื่อมต่อและคลาวด์เป็นสิ่งสำคัญของพรมแดนดิจิทัล แต่ความพร้อมทางดิจิทัลของแต่ละภูมิภาคก็แตกต่างกันมาก รายงาน Global Connectivity Index (GCI) ของหัวเว่ยเปิดเผยว่า อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับที่ 63, 58 และ 59 จากทั่วโลก ในขณะที่สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 2 ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียมีความเร็วบรอดแบนด์คงที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับสิงคโปร์และประเทศไทย การเข้าถึงระบบคลาวด์ในเอเชียแปซิฟิกยังน้อยกว่า 20% ในขณะที่การใช้มือถือ 4G นั้นสูงกว่า 50% เล็กน้อย และครัวเรือนเพียงหนึ่งในสามเท่านั้นที่เข้าถึง FBB (Fixed Broadband)
และสุดท้าย คือแรงขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมและตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างรวดเร็ว ซึ่งเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนอย่างมีเป้าหมาย
ตัวอย่างในด้านนี้คือ โครงการ RuralStar ของหัวเว่ย ภายใต้แนวคิด Tech4All ซึ่งมีเป้าหมายในการให้บริการอินเทอร์เน็ตและการเชื่อมต่อสำหรับพื้นที่ห่างไกลตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งประสบความสำเร็จในการร่วมมือกับผู้ให้บริการ 12 รายใน 8 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยและอินโดนีเซียในปีแรกของการดำเนินงาน
ณ หุบเขาห่างไกลในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย โซลูชัน AirPON ของหัวเว่ยได้นำเสาและโครงสร้างไฟเบอร์ที่มีอยู่กลับมาใช้ใหม่ เพื่อสร้าง “ห้องอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย” เชื่อมต่อกับหมู่บ้านมากกว่า 10,000 แห่ง
สร้างอนาคตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
เอเชียแปซิฟิกเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีจำนวนประชากรและความหลากหลายของชาติพันธุ์มากที่สุดในโลก เป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นแถวหน้าด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทั่วโลก เราเห็นโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลและการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และหลายประเทศก็พร้อมดำเนินกลยุทธ์ดิจิทัลในระดับประเทศ
ตัวอย่างที่มีให้เห็นคือ การที่สิงคโปร์เปิดตัวพิมพ์เขียว Smart Nation 2025 อินโดนีเซียและมาเลเซียเปิดตัวกลยุทธ์สู่วิถีชีวิตแบบดิจิทัล บังกลาเทศเปิดตัวกลยุทธ์ Digital Bangladesh และประเทศไทยได้ประกาศวิสัยทัศน์พร้อมก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน
เรามุ่งมั่นที่จะเป็นผู้สนับสนุนหลักของวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ เราเน้นที่สามด้านหลัก คือ การเชื่อมต่อและเทคโนโลยีอัจฉริยะ การพัฒนาในด้านการลดการใช้คาร์บอนอย่างยั่งยืน และการเข้าถึงระบบดิจิทัลอย่างเท่าเทียม
การเชื่อมต่อดิจิทัลซึ่งรวมถึงเทคโนโลยี 4G, 5G, ไฟเบอร์ และ IoT เป็นพื้นฐานสู่ความสำเร็จของเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งโควิด-19
ทำให้ความต้องการบริการด้านดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างมาก หัวเว่ยจะมีบทบาทสำคัญในด้านนี้ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชัน รวมถึงการวิจัยทฤษฎีพื้นฐานและการออกแบบอุตสาหกรรมด้วย
โครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง และคลาวด์อัจฉริยะสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะรวบรวมบริการฐานข้อมูล บริการคลาวด์ และเทคโนโลยี AI เพื่อสนับสนุนการสร้างรายได้ของธุรกิจจากการนำข้อมูลไปต่อยอดและการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล รายงานล่าสุดของการ์ทเนอร์ระบุว่า หัวเว่ย คลาวด์ เป็นระบบคลาวด์ที่เติบโตเร็วที่สุดในตลาด IaaS ทั่วโลก โดยมีอัตราการเติบโตมากกว่า 220% และมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก ในเอเชียแปซิฟิก หัวเว่ยมี 7 Availability Zone ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย ฮ่องกง และสิงคโปร์ รวมถึงมีทีมบริการในพื้นที่มากกว่า 10 ประเทศ
การลงทุนอย่างต่อเนื่องในการวิจัยและพัฒนา ทำให้อัตราการปล่อยคาร์บอนสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการ E2E ลดลงกว่า 80% โดยคงประสิทธิภาพเดิมไว้ หัวเว่ยผสมผสานเทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาบริการเชิงนวัตกรรมด้านดิจิทัล
พาวเวอร์ ทำให้การใช้พลังงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโครงสร้างพื้นฐานไอซีที ภายในปี 2564 หัวเว่ยช่วยให้ลูกค้าทั่วโลกลดการปล่อยคาร์บอนลงได้ถึง 230 ล้านตัน
สุดท้ายนี้ เรามุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ครอบคลุม และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ด้วยวิสัยทัศน์ของเรา โลกดิจิทัลไม่ได้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวกับผู้คนและมนุษยชาติ ใน 3 ปีข้างหน้าจากนี้
หัวเว่ยวางแผนลงทุน 100 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสร้างอีโคซิสเต็มของสตาร์ตอัพในเอเชียแปซิฟิก และอีก 5 ปีจากนี้ เราจะลงทุน 50 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถด้านดิจิทัล 500,000 คน
อนาคตของหัวเว่ย
กลยุทธ์ธุรกิจของหัวเว่ยนั้นมีความชัดเจน ซึ่งเน้นการเชื่อมต่อและการประมวลผล รวมถึงการพัฒนาธุรกิจใหม่อย่างพลังงานดิจิทัล และระบบคลาวด์
ธุรกิจการให้บริการด้านเครือข่ายของหัวเว่ยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G ส่งผลให้ธุรกิจดำเนินได้อย่างแข็งแกร่ง จากการสำรวจโดยองค์กรภายนอก พบว่าผู้ใช้งานเครือข่าย 5G ของหัวเว่ยใน 13 ประเทศของเอเชียแปซิฟิกต่างมีประสบการณ์การใช้งานที่ดีเยี่ยม หัวเว่ยจะยังคงทำงานร่วมกับผู้ให้บริการและพันธมิตร และใช้ประโยชน์จากโครงการ 5GtoB กว่า 3,000 โครงการ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรม สำหรับธุรกิจเหมืองอัจฉริยะ (Smart Mining) การผลิตอัจฉริยะ (Smart Manufacturing) และท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Ports)
ธุรกิจสำหรับองค์กรของเราที่ก่อตั้งในปี 2554 ได้รับผลตอบรับเกินความคาดหมาย ซึ่งได้ให้บริการแก่บริษัท
ชั้นนำของ Fortune Global 500 ไว้มากกว่าครึ่ง และมีจำนวนคู่ค้ามากกว่า 30,000 ราย ช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งด้านการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ การเงิน พลังงาน การขนส่ง และอื่นๆ
ในด้านอุปกรณ์อัจฉริยะมียอดขายสะสมเกิน 100 ล้านเครื่องทั่วโลก ขับเคลื่อนธุรกิจสำหรับผู้บริโภคของเราอย่างต่อเนื่อง และขยายไปสู่การพัฒนาจากประสบการณ์และการพัฒนาเพื่ออีโคซิสเต็มมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การส่งมอบประสบการณ์ที่แตกต่างอย่างแท้จริง ระบบปฏิบัติการ Harmony ของเรามีผู้ใช้มากกว่า 220 ล้านคนทั่วโลก และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วด้วยแพลตฟอร์มอัจฉริยะ Huawei Mobile Service
ธุรกิจคลาวด์และด้านพลังงานดิจิทัลประสบความสำเร็จด้วยการเติบโตถึงตัวเลขสองหลัก เป็นผลมาจากการทำงานของบุคลากรนักพัฒนาระบบคลาวด์ของหัวเว่ยที่มีกว่า 8 ล้านคน และไซต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก
ในอนาคต หัวเว่ยพร้อมปรับโครงสร้างองค์กรที่เสริมการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้หัวเว่ยมีศักยภาพในการให้บริการลูกค้าด้วยโซลูชันล้ำสมัย ที่มีความยั่งยืนและสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินธุรกิจ
เราต่อยอดการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยวัฒนธรรมการทำงานที่เปิดกว้าง เน้นการทำงานร่วมกันเพื่อความสำเร็จขององค์กร เราลงทุนอย่างต่อเนื่องในด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แม้อยู่ภายใต้แรงกดดัน เพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์สู่ความเป็นสากลทั้งด้านมาตรฐานการดำเนินงาน การพัฒนาบุคลากร และห่วงโซ่อุปทาน ส่งผลให้องค์กรมอบคุณค่าจากสินค้าและบริการให้กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อความสำเร็จไปพร้อมกับการตอบแทนสังคม การทำงานร่วมกันช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ยกระดับบริการ และเพิ่มความเชื่อมั่นที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่โลกอัจฉริยะ