เราจะเดินตามรอยพ่อ “การฟื้นฟูสภาพป่าและการปลูกป่า“


ด้วยน้ำพระทัยและปณิธานอันแน่วแน่ของ สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่จะสร้างสุข ให้กับประชาชนให้อยู่ดี กินดี มีอาชีพ ด้วยทรัพยากรที่ประเทศเรามีอยู่ให้รู้จักการใช้อย่างพอดี อย่างเหมาะ สม พอเพียงให้รู้จักการพึ่งพากันทุกสรรพสิ่ง เช่นเดียวกับป่าไม้ ป่าไม้คือปัจจัย 4 ของมนุษย์ พระองค์จึง มีพระปณิธานที่จะเป็นป่า ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริเป็นแนวคิดและวิธีการเพื่อให้คนอยู่กับป่าได้ ดังนี้

๑. การฟื้นฟูป่าตามหลักธรรมชาติ โดยมีพระราชดำรัสพระราชทานเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๗ ว่า “…ถ้าพูดเรื่องปลูกป่านี้จะยืดยาวมาก ไม่มีสิ้นสุด แต่จะต้องอธิบายอย่างนี้ว่า ถ้าได้เลือกที่ที่เหมาะสมแล้วก็ทิ้งให้อยู่อย่างนั้นโดยไม่ไปรักแกป่า ต้นไม้ นี้จะขึ้นเอง…” นั่นหมายถึงคนต้องไม่เข้าไปรังควานป่าไม้ที่อนุรักษ์น้ำ ดินได้ตามปกติเช่นในพื้นที่ป่าแม่ฮ่องสอน , แม่สะเรียง. และพระราชดำรัส เมื่อเดือนพฤษภาค พ.ศ.๒๕๓๗ ว่า “…ในสภาพป่าเต็งรัง ป่าเสื่อมโทรมนั้นความ จริงไม่ต้องทำอะไร เพราะตอไม้ก็จะแตกกิ่งออกมาอีก ถึงแม้ต้นไม่สวย แต่ก็เป็นต้นไม้ใหญ่ ได้ตามพื้นที่ก็มีต้นไม้เล็กหรือเมล็ดก็จะงอกงามขึ้นมาอีก อย่าให้ใครเข้าไปบุกรุกทำลายป่าก็จะคืนสภาพได้…” “…วัชพืชที่คลุมพื้นที่อยู่อย่าเอาออก เพราะจะเป็นสิ่งป้องกันการเซาะพังทลายของหน้าดินเป็นอย่างดีและเก็บความชื้นไว้ได้ด้วย ถ้าจะปลูกแซมก็เพียงแต่เจาะวงกลมประมาณ ๕๐ ซม. แล้วก็ปลูกต้นไม้วัชพืชที่อยู่รอบๆก็จะเป็นบังไพรกันแดดให้ด้วย…” “…วัชพืชขนาดใหญ่และหนาเช่นดงหญ้าคงต้องกำจัดบ้างก่อนปลูกป่า แต่วัชพืชในป่าเต็งรังในป่าต้นน้ำลำธารไม่ต้องขจัด…”

จากพระราชดำรัสนี้ ทรงแสดงถึงพระอัจฉริยภาพการคิดอย่างเป็นระบบ ในการจัดการดูแลป่าไม้ที่ เสื่อมโทรม ต้นไม้สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกัน หากได้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมก็จะมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ซึ่ง เป็นการปลูกป่าทดแทนถือเป็นขั้นตอนที่๒ และทรงมีพระราชดำรัสไว้ว่า “…สำหรับการปลูกป่าทดแทนนั้น ควรถือเป็นงานเร่งด่วนและน่าจะทดลองปลูกต้นไม้ชนิดโตเร็วคลุมแนวร่องน้ำเสียก่อน เพื่อทำให้ความชุ่ม ชื้น…” และ “…ส่วนต้นไม้ที่จะปลูกจะต้องมีทั้งต้นไม้ที่คลุมแหล่งน้ำต้นไม้ยึดดิน ไม้ผล ต้นไม้ทำผืน ต้นไม้ ใช้ในการก่อสร้างตลอดจนต้นไม้ทีมีค่าทางเศรษฐกิจเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างอเนกประสงค์…”

จากพระราชดำรัสนี้ ผู้อ่านควรอ่านและคิดไตร่ตรองดูจะเห็นว่านี้คือการดูแลดิน ป่าไม้ เพื่อการ เจริญเติบโตและการป้องกันจากภัยธรรมชาติ และยังเผื่อแผ่มายังประชาชนที่จะนำต้นไม้ไปใช้ตามความ ต้องการ และยังทรงแนะการเลือกปลูกต้นไม้ ควรคำนึงถึงไม้ท้องถิ่นมากกว่าไม้ต่างถิ่น “…การปลูกป่า ธรรมชาติหรือปลูกป่าต้นน้ำลำธารควรศึกษาดูก่อนว่าพืชพันธุ์ไม้ดั้งเดิมมีอะไรบ้างแล้วปลูกแซมตามราย การชนิดต้นไม้ที่ศึกษามาได้ไม่ควรนำไม้แปลกปลอมต่างพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามาปลูกโดยยังไม่ได้ศึกษาอย่าง แน่ชัดเสียก่อน อย่างไรก็ตามในพื้นที่อาจจะใช้ไม้โตเร็วที่ไม่เป็นพิษเป็นภัย เช่น ต้นยางพารา ปลูกเป็น ต้นไม้นำก่อนก็ได้…” /p>

ลักษณะของป่าที่ปลูกทดแทน เป็นป่า ๓ อย่าง ที่นำไปใช้ประโยชน์ ๓ ลักษณะ ได้แก่

๑. ไม้ที่นำไปเป็นเชื้อเพลิง ได้แก่ กระถินยักษ์ กระถินเทพา เรียกว่าเป็นไม้ฟืน ปลูกไว้ใช้สอยใน หมู่บ้านแทนการไปตัดไม้ธรรมชาติออกจากป่า

๓. ไม้เศรษฐกิจ เช่น สัก มะค่ะ ยางนา เรียกง่ายๆว่าไม้ใช้สอย เป็นไม้ที่ใช้ในการก่อสร้าง จึงควรปลูก เพิ่มเติม

หากสามารถปลูกต้นไม้ได้ทั้ง ๓ แบบ ก็จะได้ประโยชน์ตามความต้องการแล้วยังช่วยการอนุรักษ์ ดิน และ น้ำไว้ด้วย เพื่อให้มีการเพาะปลูกอย่างต่อเนื่องตลอดไปได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวทางที่พวกเรา คนไทยควรน้อมนำไปใช้ได้ทุกสถานที่เพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์

เรื่องโดย นายจาตุรันต์ วัฒนประทีป ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี


Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *