รอยัล ภูเก็ต มารีน่า ตอกย้ำการก้าวสู่การเป็นท่าจอดเรือปลอดคาร์บอนแห่งแรกและแห่งเดียวในเอเชีย


กำหนดนิยามใหม่ของความสำเร็จด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนทางทะเล ณ สวรรค์ใจกลางภูเก็ต

วันนี้ รอยัล ภูเก็ต มารีน่า (RPM) ได้ประกาศตัวในฐานะท่าจอดเรือปลอดคาร์บอนแห่งแรกของเอเชีย ความสำเร็จครั้งสำคัญที่ถูกสร้างขึ้นจากความมุ่งมั่นที่ผ่านมาในการเปลี่ยนแปลงมากมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน การได้รับการรับรองในครั้งนี้ RPM ไม่เพียงแต่ตอกย้ำตัวเองในฐานะผู้นำถึงการพัฒนาด้านความยั่งยืน แต่ยังกำหนดมาตรฐานในการเป็นผู้นำในการสร้างแนวทางปฏิบัติทางเรือที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมไปสู่ทั่วทั้งเอเชียอีกด้วย RPM เป็นที่รู้จักกันดีในด้านนวัตกรรมเชิงนิเวศน์ที่มีการผสมผสานความหรูหรา ความยั่งยืน และความสง่างาม เข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว มอบประสบการณ์การใช้ชีวิตที่แตกต่างในสภาพแวดล้อมอันเงียบสงบของจังหวัดภูเก็ต

RPM เปรียบเสมือนประตูสู่อ่าวพังงาและทะเลอันดามัน ท่าเรือมาตรฐานระดับสากล  ผู้บุกเบิกด้านการบริการท่าจอดเรือที่ได้รับรางวัลและการรับรองมาตรฐานสูงสุดของภูเก็ต สะอาด ปลอดภัย ทันสมัยท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ มอบบริการครบวงจร ดั่งสวรรค์ของการใช้ชีวิตริมทะเล นอกจากบริการที่จอดเรือแล้ว ยังมีที่พักอาศัยระดับ 5 ดาว ตั้งแต่อพาร์ตเมนต์ เพนต์เฮาส์ ไปจนถึงวิลล่าและอความิเนียม (ที่พักพร้อมท่าจอดเรือส่วนตัว) นอกเหนือจากเสน่ห์ในการอยู่อาศัยแล้ว RPM ยังเป็นศูนย์กลางธุรกิจ ด้วยทำเลทองที่ตั้งใจกลางเกาะภูเก็ต จึงเหมาะอย่างยิ่งกับการเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับธุรกิจ พื้นที่เช่าสำหรับร้านอาหารหรือสำนักงาน และพื้นที่ในการจัดกิจกรรม อีเว้น ต่าง ๆ มากมาย

เป็นเวลากว่า 20 ปีที่ RPM บุกเบิกและเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมท่าจอดเรือ ที่ให้ความสำคัญกับความเป็นเลิศในการให้บริการ สิ่งอำนวยความสะดวก สุขภาพ และความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยตั้งแต่ปี 2559 RPM หันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยแผงโซลาร์เซลล์บนอาคารที่จอดเรือในร่ม สามารถจ่ายพลังงานได้มากกว่า 40% ต่อวัน รับการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกแห่งประเทศไทย หรือ อบก. ในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศเพื่อต่อสู้กับปัญหาภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ RPM ยังทำงานร่วมกับพันธมิตร ในการลดการใช้ขวดพลาสติกในกิจกรรมการเดินเรือทุกประเภท ตั้งเป้าหากสำเร็จจะสามารถช่วยลดขวดพลาสติกไปได้ราว ๆ กว่า 4 ล้านขวดต่อปี

ในฐานะผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน RPM มีจุดประสงค์ในการสร้างแรงบันดาลใจที่กระตุ้นและเน้นย้ำให้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ท่าจอดเรือควรมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ของประเทศไทยมีความสอดคล้องกับแนวทางกับหลักสากลด้วย ความมุ่งมั่นนี้สอดคล้องกับเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ของประเทศไทยในการบรรลุความเป็นกลางของคาร์บอนภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608

RPM ตั้งใจอย่างยิ่งที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความรับผิดชอบมากขึ้น พร้อมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและยั่งยืนกับผู้อยู่อาศัยในปัจจุบันและขยายศักยภาพกับนักลงทุนและชุมชนโดยรอบที่กว้างขึ้น ความมุ่งมั่นดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับประเทศไทยในฐานะการเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และสร้างมาตรฐานสำหรับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในภาคการท่องเที่ยวทั้งในประเทศไทยและทั่วทั้งเอเชีย

นายกูลู ลัลวานี ประธานบริษัท รอยัล ภูเก็ต มารีน่า (RPM) เน้นย้ำว่า “นอกเหนือจากบทบาททั่วไปในฐานะท่าจอดเรือแล้ว RPM เป็นเหมือนจุดหมายปลายทางที่ผสมผสานความหรูหราและความยั่งยืนได้อย่างลงตัว ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่มอบไลฟ์สไตล์ที่กลมกลืนกับความงามดั้งเดิมของภูเก็ต ในฐานะท่าจอดเรือปลอดคาร์บอนแห่งแรกและแห่งเดียวในเอเชีย และนี่คือการสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับการใช้ชีวิตที่หรูหราแต่ทว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม   นอกจากนี้เดือนที่ผ่านมา เรายังเป็นองค์กรธุรกิจผสมผสาน (Mixed-use Development) ที่เป็นกลางทางคาร์บอนแห่งแรกและแห่งเดียวในภูเก็ต ก้าวสำคัญในครั้งนี้ส่งผลให้เรากำลังวางแผนที่จะพัฒนาโครงการใหม่ในปีนี้ รวมถึงโรงแรมระดับ 5 ดาว วิลล่าหรู และคอนโดมิเนียม เพื่อตอกย้ำเส้นทางสู่ความสำเร็จของเรา ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาพื้นที่สำหรับจอดเรือ พื้นที่เชิงพาณิชย์ เปิดโอกาสให้ได้สัมผัสวิถีชีวิตของท่าเรือที่ผสมผสานความหรูหรา สะท้อนถึงคุณค่าและความมุ่งมั่นของ RPM ได้เป็นอย่างดี”

มาพบกับเราได้ที่รอยัล ภูเก็ต มารีน่า พื้นที่ที่ซึ่งความหรูหราอย่างยั่งยืน เป็นสวรรค์ที่อยู่เพียงแค่เอื้อมเท่านั้น


Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *