ตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชสิริราชสมบัติ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช มหาราช พระองค์ทรงตั้งปณิธานเพื่อให้พสกนิกรมีความสุขจากการประกอบอาชีพ ให้มีการกินดีอยู่ดี มีงานทำ สุขภาพแข็งแรง โดยประกาศต่อสู้กับสงครามความยากจน ความอดอยาก ด้วยการแก้ปัญหาที่เกิดด้วยการทดลองศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ จัดตั้งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในปัจจุบัน พระองค์ทรงวิเคราะห์วิจัยปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดจากความต้องการของมนุษย์ที่ขาดความพอเพียงหรือพอดี จึงทำให้มีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ทั้งในทางตรงและทางอ้อม หากไม่เริ่มดำเนินการตั้งแต่บัดนี้ ปัญหาเหล่านี้ก็จะลุกลามใหญ่โตจนเกินความควบคุมของมนุษย์ได้ หากต้องใช้ขบวนการคิดและลงมือปฎิบัติอย่างรอบครอบ ระมัดระวัง คิดถึงความคุ้มค่าและมีภูมิคุ้มกัน
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชดำริถึงรายได้ของประเทศไทยได้จากนักเกษตร กรรมเป็นหลักจากเดิมผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ และต่อมาได้มีการส่งออกเพื่อเป็นรายได้ของ ประเทศซึ่งให้เกิดความต้องการมากยิ่งขึ้น การบุกรุกทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมก็มีมากขึ้นตาม ด้วยเหตุ นี้จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาการเกษตรไทยซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น ด้านการป่าไม้ การจัดการทรัพยากรน้ำ การพัฒนาที่ดิน การปลูกพืช การปศุสัตว์ การประมง การเกษตรอุตสาหกรรม และการสหกรณ์เป็นต้น
ประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายตั้งแต่ชายฝั่งทะเล ที่ราบลุ่มแม่น้ำจนถึง ภูเขาสูงชันที่มีความสูงถึง ๒,๔๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล มีป่าหลายประเภท เช่น ป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าสน ซึ่งป่าเหล่านี้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนไทย ถึงแม้ว่า ป่าไม้จะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นใหม่ได้ แต่ประเทศไทยก็สูญเสียป่าไม้อย่างมหาศาลในช่วงเวลา ๔๐ ปีที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับป่าบนภูเขาและป่าชายเลนตามชายฝั่งทะเล (เพื่อจัดทำพื้นที่การเกษตรและพื้น ที่การท่องเที่ยวและบริการ) การสูยเสียพื้นที่ป่าไม้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งก่อปัญหาที่มีผลต่อการทำลายป่าไม้พอสรุปได้ดังนี้
๑.การให้สัมปทานป่าไม้โดยขาดการควบคุม สัมปทานให้เพื่อการส่งออกและใช้ภายในปรเทศและยัง กระตุ้นให้เกิดการบุกรุกป่า จับจองที่ดินทำกินของชาวบ้านด้วย
๒.การเพิ่มประชากร ในช่วงปีพ.ศ ๒๕๓๐ มีอัตราการเพิ่มประชากรระดับสูงสุดทำให้ครอบครัวเกษตรกรที่ถือที่ดินทำกินขนาดเล็กไม่สามารถแบ่งที่ดินทำกินได้ จึงเกิดการบุกรุกป่าเพื่อจับจองเป็นที่ทำกิน
๓.การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเกิดจากการสร้างระบบสาธารณูปโภคเพื่อแย่งชิงประชาชนในยุคสงครามเย็นและเกิดการอพยพของประชาชนในเขตภูมิภาคต่างๆ
๔.การประกาศเขตอนุรักษ์ป่าไม้ พื้นที่ป่าสงวนและป่าอนุรักษ์หลายแห่งเกิดเป็นพื้นที่ทับซ้อนกับที่ดินทำกินกับชุมชนที่ตั้งมาก่อน ซึ่งเกิดควาขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
๕.การแพร่ของเทคโนโลยีเลี่อยไฟฟ้าและรถไถ ทำให้เกิดอัตราเร่งในการทำลายพื้นที่ป่า เนื่องจากสามารถตัดต้นไม้ได้อย่างรวดเร็ว การใช้รถไถแทนการใช้แรงงานสัตว์เอื้ออำนวยให้เกษตรสามารถทำเกษตรแปลงใหญ่ การแพร่ของเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์พืช ยาปราบศัตรูพืช การเกษตรมุ่งเพาะปลูกเพื่อการค้ามากขึ้น ที่ดินเริ่มมีราคาที่ต้องซื้อขายกัน
๖.การเกษตรเชิงพาณิชย์ ในอดีตคนไทยปลูกข้าวและพืชผักเพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก พืชผลที่เหลือนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นหรือขายเป็นรายได้ แต่ในปัจจุบันระบบเศรษฐกิจต้องพึ่งเงินตราทำให้การเพาะปลูกเพื่อการค้าทั้งสิ้น ผลผลิตทางการเกษตรที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยในระดับสูงได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยางพารา กุ้งกุลาดำ ฯลฯ ทำให้มีความต้องการพื้นที่การเกษตรมากยิ่งขึ้น
๗.การเก็งกำไรที่ดิน ตั้งแต่ปีพ.ศ ๒๕๓๐ เป็นช่วงที่มีการซื้อขายที่ดินที่เก็งกำไรสูงมากถึงหลายเท่า ทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อครอบครอง เพื่อการค้าที่ดิน และเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและที่พักตากอากาศ
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่บ่อนทำลายทรัพยากรธรรมชาติหากไม่มีการควบคุมหรือการใช้ สติปัญญาในการใช้อย่างรู้คุณค่า หรือมีการพัฒนาฟื้นฟูทดแทนอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ พระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยถีงความสัมพันธ์ระหว่าง ป่า น้ำ ดิน ซึ่งโยงใยมีผลกระทบต่อกันตั้งแต่ เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ทรงเล่าว่า “อาจมีบางคนเข้าใจว่า ทำไมจึงสนพระทัยเรื่องชลประทานหรือเรื่องป่าไม้ จำได้เมื่ออายุ ๑๐ ขวบ ที่โรงเรียนมีอยู่คนหนึ่งซึ่งเดี๋ยวนี้ตายไปแล้วสอนเรื่องวิทยาศาตรย์ เรื่องการอนุรักษ์ดินแจ้งให้เขียนว่า ภูเขาต้องมีป่าไม้ อย่างนั้นเม็ดฝนลงมาแล้วจะชะดินลงมาเร็ว ทำให้ไหลตามน้ำไป ไปทำความเสียหายดินหมดจากภูเขาเพราะไหลตามสายน้ำไปก็เป็นหลักของป่าไม้ เรื่องการอนุรักษ์ดินและเป็นหลักของชลประทานที่ว่า “ถ้าเราไม่รักษาป่าข้างบนจะทำให้เดือดร้อนตลอด ตั้งแต่ดินภูเขาจะหมดไป กระทั่งจะมีตะกอนลงมาในเขื่อน มีตะกอนลงมาในแม่น้ำทำให้น้ำท่วมที่นะ”
การทรงเห็นความสำคัญของปัญหาป่าเสื่อมโทรมซึ่งส่งผลกระทบต่อป้ญหาด้านอื่นๆไม่เฉพาะเรื่องดิน เรื่องน้ำ เท่านั้นหากยังโยงใยถึงปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ การเมือง คุณธรรมและระบบนิเวศน์ ด้วยเหตุนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งได้ จักต้องแก้ปัญหาไปพร้อมๆกัน ต้องประสานสัมพันธ์กัน ทั้งหมดคือ
๑.การอนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม
๒.การฟื้นฟูสภาพป่าและการปลูกป่า
๓.การพัฒนาเพื่อชุมชนอยู่รวมกับป่าอย่างยั่งยืน
เรื่องโดย นายจาตุรันต์ วัฒนประทีป ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี