
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้
“วันนี้ไม่เพียงแต่ไทยเท่านั้นสังคมโลกก็ต้องเผชิญกับ “อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ” ซึ่งไทยได้วางแผนรับมือพร้อมกับนำเอา “โมเดลเศรษฐกิจ BCG” หรือการพัฒนาเศรษฐกิจ 3 ด้านมาปรับใช้ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เพื่อขับเคลื่อนไทยเติบโตต่อไปอย่างยั่งยืนท่ามกลางสถานการณ์ที่ท้าทายนี้” ดร สุวรรณ ตั้งมิตรเจริญ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ เผยถึงโมเดลเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยในวันนี้
ดร สุวรรณ เผยต่อไปว่า หากจะขยายความถึงโมเดลเศรษฐกิจ BCG ว่าเชื่อมโยงกับภาคของป่าไม้อย่างไรนั้น วันนี้โมเดลดังกล่าวถูกนำมาเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน รวมไปถึงป่าไม้ ซึ่งทางกรมฯ นั้นได้บูรณาการ การพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้าง มูลค่าเพิ่มจากฐานความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพ ยกตัวอย่างเช่น การส่งเสริมการปลูกป่า ป่าชุมชน ป่านันทนาการ การวิจัยและพัฒนาด้านป่าไม้ เป็นต้น

ดร สุวรรณ ขยายความต่อไปว่า อย่างที่ทราบกันวันนี้พื้นที่ป่าไม้ยังสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ ชุมชน หรือครัวเรือนในรูปของการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และเป็นพื้นที่สันทนาการ ผู้ประกอบการมีรายได้จากการพัฒนากิจการท่องเที่ยวในลักษณะ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (ecotourism) นอกจากนี้ ป่าไม้ยังทำหน้าที่ดูดซับคาร์บอน (carbon sink) และยังสอดรับการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่สถานะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นศูนย์ (net zero emission) หรือสถานะความสมดุลทางคาร์บอน (carbon neutral) โดยใช้ต้นทุนต่ำเมื่อเทียบกับภาคส่วนอื่น และที่สำคัญ
ทั้งนี้เมื่อถามต่อไปว่า วันนี้ อุตสาหกรรมไม้มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยมาน้อยเพียงใด ดร สุวรรณ เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจถือเป็นวิธีที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับประเทศไทย เพราะต้นไม้จะดูดซับคาร์บอนในอากาศมาเก็บในเนื้อไม้ เมื่อไม้ถูกนำมาใช้งานเป็นผลิตภัณฑ์ ๆ นั้นก็ทำหน้าที่กักเก็บคาร์บอน และเมื่อมีการปลูกใหม่ทดแทนตามรอบการตัดฟัน (rotation) ต้นไม้ก็จะทำหน้าที่ดูดซับคาร์บอนได้ต่อไป ฉะนั้นวันนี้การส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกไม้เศรษฐกิจและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องเป็นโจทย์ที่ดีสำหรับไทย

ดร สุวรรณ กล่าวต่อไปว่า โดยเมื่อเร็วๆ ที่ผ่านมาได้มีโอกาสศึกษาดูงานระบบโครงสร้างป่าไม้ยั่งยืน และนวัตกรรมด้านป่าไม้ในประเทศสวีเดน รวมทั้งเยี่ยมชมโครงการ STOCKHOLM WOOD CITY เป็นโครงการก่อสร้างชุมชนด้วยไม้ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้ไม้ที่ใช้ในโครงการเป็นไม้ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืนของ FSC และที่สำคัญปัจจุบันสวีเดน มีอาคารสูงที่สร้างด้วยไม้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการก้าวไปสู่การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ ภายในปี 2588 ยกตัวอย่างเช่น SARA CULTURAL CENTRE เป็นอาคารไม้ 20 ชั้น ที่ สูงที่สุดในโลกแห่ง ใหม่ ไม้ ทั้งหมดที่ใช้ สร้างเป็น ไม้ที่ปลูกในท้องถิ่น จึงลดการขนส่งและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ลดลง เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการพัฒนาป่าเศรษฐกิจถือเป็นสิ่งที่สวีเดนขับเคลื่อนอย่างชัดเจน โดยหลังจากศึกษาดูงานเราวางแผนต่อยอด จัดทำ แผนช่วย ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างโครงสร้างอาคารไม้ในไทยโดยเน้นการทำงานและการมีส่วนร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ศึกษาวิจัย ศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างโดยใช้ไม้ การคัดเลือกชนิดไม้สำหรับการก่อสร้างเพื่อการจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน
วันนี้กรอบหลักของดำเนินงานด้าน BCG ภาคป่าไม้ หรือกลุ่มไม้เศรษฐกิจ ประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ ได้แก่ 1. การกำหนดโครงสร้างและสิ่งที่เอื้ออำนวย (Infrastructure and Facilities) ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษไม้เศรษฐกิจ การใช้ต้นไม้เป็นหลักประกันทางการเงินให้กับเกษตร คาร์บอนภาคป่าไม้ พันธบัตรป่าไม้ 2. การกำกับดูแล (Regulatory affair) 3. ทรัพยากรบุคคล (Human resources) 4. ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา (Collaboration) 5. การตลาด (Market) ซึ่งรวมถึงฐานข้อมูลไม้เศรษฐกิจ
“การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ภาคป่าไม้ ถือเป็นภารกิจสำคัญเกี่ยวเนื่องของประเทศไทยหลังประกาศเจตนารมณ์ในเวทีระดับสากลเพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ภายใน พ.ศ.2593 (ค.ศ.2050) และปล่อยก๊าซเรือนกระจก สุทธิเป็นศูนย์ ภายในหรือก่อนปี พ.ศ.2608 (ค.ศ.2065) ซึ่งแนวทางที่จะนำประเทศไทยบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้นั้น อุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจ หรือการเพิ่มพื้นที่ป่า ตามแนวทาง BCG เป็นหนทางที่เหมาะสมที่สุด พร้อมๆกับการสร้างรายได้และประโยชน์ให้กับประเทศ” ดร สุวรรณ กล่าวทิ้งท้าย