[heading tag=”h2″ align=”center” color=”#32CD32″ style=”lines” color2=”#32CD32″]CSR 2020 วาระทางสังคม ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน[/heading]
ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร หรือ CSR ( Corporate Social Responsibility) ที่ดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งเเวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันทุกองค์กรในไทยหันมาปฏิบัติและยืดเอาแนวคิดดังกล่าวเป็นกลยุทธ์ทั้งในมุมของการแสดงออกถึงความรับผิดชอบขององค์กร การสร้างแบรนด์และภาพลักษณ์ รวมทั้งการสื่อสารที่ดีไปยังกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
อย่างไรก็ตามการทำ CSR ยังคงเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในอนาคต โดยล่าสุดทางองค์การสหประชาชาติได้จัดการประชุมสุดยอดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Summit) เพื่อรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 รวมถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) 17 ข้อ โดยชาติสมาชิก 193 ประเทศรวมทั้งไทยเข้าร่วม สำหรับในไทยองค์กรที่เป็นภาคีคือ สถาบันไทยพัฒน์ ซึ่งระหว่างการประชุมนั้น ได้แนวคิดการขับเคลื่อนวาระ “สังคม 2020” ขึ้น เพื่อสร้างให้เกิดความเคลื่อนไหวทางสังคมที่สนองตอบต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนการทำงานเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และสานเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทยไปพร้อมกัน
การขับเคลื่อนวาระสังคม 2020 จะกำกับดูแลโดยคณะกรรมการเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Network Board: SDNB) หรือเรียกสั้นๆ ว่า “บอร์ดยั่งยืน” ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมตัวของผู้ที่ผลักดันงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากภาคเอกชน ภาคสังคม ภาควิชาการ และสื่อมวลชน โดยมีสถาบันไทยพัฒน์ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการฯ ในมิติของบทบาท บอร์ดยั่งยืน จะเน้นการทำหน้าที่เป็นกลไกประสานหน่วยงาน ทำงานในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือเพื่อตอบโจทย์ SDGs ในระดับที่สูงขึ้น ภายใต้หลักการ 5Ps ได้แก่ ประชาชน (People) โลก (Planet) ความมั่งคั่ง (Prosperity) สันติภาพ (Peace) และความเป็นหุ้นส่วน (Partnership)
วาระทางสังคม 2020 ก้าวเดิน ตามกรอบวิสัยทัศน์ “People -> Perform, Business -> Transform, State -> Reform” คือ ประชาชนทำหน้าที่ (Perform) ของตนเองอย่างมีประสิทธิผล ภาคธุรกิจเปลี่ยนผ่านหรือแปรรูป (Transform) ไปสู่การยกระดับการประกอบธุรกิจที่ทำให้สังคมได้รับการดูแลตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปพร้อมกัน และภาครัฐมีการปฏิรูป (Reform) หน่วยงานอย่างจริงจังเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและความคาดหวังของสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งไปสู่ “สังคมที่เราต้องการ” (The Society We Want) ในอีก 15 ปีข้างหน้า โดยมีกรอบเวลา 5 ปีในระยะแรก (สิ้นสุดปี ค.ศ.2020) และจะมีการประเมินการดำเนินงาน เพื่อพิจารณาสู่การขับเคลื่อนในกรอบเวลา 10 ปี (สิ้นสุดปี ค.ศ.2030) ในระยะต่อไป ถือได้ว่าก้าวเดินของไทยในการจัดตั้ง บอร์ดยั่งยืน แสดงออกถึงความร่วมมือที่ดีของทุกภาคส่วนที่จะมาร่วมแรงร่วมใจกันในการกำหนดทิศทางการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงและต่อเนื่อง โดยผลลัพธ์ต่อจากนี้จะเป็นอย่างไรต้องคอยติดตาม แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ขณะนี้ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนนึงสำหรับการทำ CSR แต่ในปี 2020 คือ วาระทางสังคมที่ทุกคนต้องก้าวเดินไปด้วยกัน
[alert style=”warning”]ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร หรือ CSR ( Corporate Social Responsibility) ที่ดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งเเวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือการพัฒนาที่ยั่งยืน[/alert]